เรื่องที่ 2: PLOs..คืออะไร จะขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จได้อย่างไร
Updated: Jun 11
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังตามหลักสูตร
ตามมาตรฐานหลักสูตรที่ กมอ.กำหนดตั้งแต่ปี 2565 ทุกหลักสูตรจะต้องกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง(Program Learning Outcomes-PLOs) โดยกำหนดให้ครอบคลุม 4 ด้าน คือ
1. ด้านความรู้( Knowledge) เป็นความรู้ในภาค Cognitive Domain อาจเน้นไปที่ ความรู้-ความเข้าใจในเนื้อหาสาระ การประยุกต์ใช้ความรู้ และ ความสามารถด้านการวิเคราะห์ ประเมินค่า และสร้างสรรค์ทางเลือกใหม่ในด้านแนวคิด วิธีการหรือแนวทางการพัฒนา
2. ด้านทักษะ(Skills) เป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตหรือประกอบอาชีพในศตวรรษที่ 21 เป็นทักษะปฏิบัติในภาค Psychomotor Domain
3. ด้านจริยธรรม(Ethics) เป็นค่านิยมในการปฏิบัติตนตามกฎหมาย ค่านิยมทางสังคม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นคุณลักษณะในภาค Affective Domain
4. ด้านลักษณะบุคคล( Characteristics) เป็นลักษระที่จำเป็นสำหรับการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และสมาชิกที่ดีของวิชาชีพ เป็นคุณลักษณะในภาค Affective Domain
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังตามมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา V.S. มาตรฐานการศึกษาชาติ
หากพิจารณามาตรฐานคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษา 4 ประเภท จะพบว่า สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาชาติ(2561) ที่กำหนดมาตรฐานสมรรถนะเยาวชนไทยหรือคนไทย เป็น 3 ด้าน คือ
1. Active Learners: เป็นผู้เรียนที่มีความกระตือรือร้นในการเรียนหรือใฝ่รู้ และมุ่งมั่นศึกษาจนรอบรู้ในด้านต่างๆ....จะตรงกับด้านความรู้ และค่านิยมด้านนิสัยใฝ่รู้
2. Creators/Co-Creators: เป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม หรือเป็นผู้ร่วมงานที่สร้างสรรค์ จะต้องมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏอบัติงาน หรือดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 เช่น มีทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นทีม-เป็นเครือข่าย ทักษะไอซีที ทักษะการวิจัยเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่....จะตรงกับด้านทักษะ(Skills เป็นส่วนใหญ่)
3. Active Citizen: เป็นพลเมืองที่พึงประสงค์ มีคุณลักษณะ(Characteristics/Attribute) ที่จำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม หรือเพื่อการดำเนินชีวิต หรือเพื่อการอยู่ในวงวิชาชีพ(กรณีหลักสูตรปริญญา คือ กำหนดด้านจริยธรรม ในวิชาชีพ)
ในการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังตั้งแต่ปี 2552 คือ TQF 5 ด้าน ต่อมา กำหนด 3 องค์ประกอบในปี 2561 และล่าสุด คือ จำแนกเป็น 4 ด้าน ตามมติ กมอ.ที่เป็นกรณีของหลักสูตรระดับอุดมศึกษา ซึ่งหลักสูตรทุกระดับ ยังคงยึดถือหรือสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาชาติ
การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง
เป็นความต้องการหรือสอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับหลักสูตร
กำหนดรายการผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังครอบคลุม 4 ด้าน คัดสรรค์เฉพาะรายการที่สำคัญๆ จำเป็นขั้นต่ำ จำนวนไม่มากเกินไป และสามารถดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จได้ตามหลักสูตร
กำหนดรายการที่เป็นจุดเน้นและต้องทำการประเมินพัฒนาการหรือประเมินสรุปในแต่ละชั้นปี(Year Learning Outcomes)
การบริหารจัดการ หรือส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง
จะต้องมี(1) รายวิชาในหลักสูตร หรือ(2) กิจกรรมเสริมประสบการณ์ รองรับการพัฒนาให้บรรลุตามรายการผลลัพธ์การเรียนรู้นั้นๆ(PLOs) ..โดย แต่ละรายวิชา หรือแต่ละกิจกรรมอาจรองรับการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้หลายรายการ
จะต้องสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างทีมบริหารหลักสูตร กับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้เข้าใจรายการผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง ให้ตรงกัน และตระหนักในคุณค่าหรือความสำคัญของ PLOs ที่จะมีผลต่อความสำเร็จในชีวิตของนักศึกษา และเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการจัดประสบการณ์ที่มีเข็มมุ่ง ไปในทิศทางเดียวกัน
ผู้สอนแต่ลรายวิชา จะต้องอธิบายได้ว่า (1) รายวิชาของตน มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สำคัญๆอะไรบ้าง หรือจำแนกเป็นผลลัพธ์การเรียนรู้ย่อยๆ ในระดับรายวิชา(Course Learning Outcomes-CLOs) อย่างไรบ้าง (2) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไร และ (3) จะทำการประเมินผลเพื่อตรวจสอบการบรรลุผลตามรายการผลลัพธ์การเรียนรู้ อย่างไร
จะต้องชี้แจงให้ผู้เรียนรับทราบ PLOs และความจำเป็นที่จะต้องเรียนให้ประสบความสำเร็จตาม PLOs ที่เน้นการเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง Self-Directed Learning
การจัดการเรียนการสอนต้องเน้นการเรียนรู้จากสภาพจริง Authentic Learning ในบริบทของวิชาชีพจริง(Authentic Context of Profession) มากกว่าในสถานการณ์เสมือนในห้องเรียนของมหาวิทยาลัย(Virtual Situations)
การประเมินพัฒนาการตาม PLOs ควรทำการประเมินทุกสิ้นปีของแต่ละชั้นปี ให้ความสำคัญกับการประเมินตนเองของนักศึกษา การประเมินเชิงยืนยันจากผู้เกี่ยวข้อง และการรวบรวมหลักฐานที่แสดงถึงพัฒนาการตาม PLOs อย่างครอบคลุม ครบถ้วน
อาจใช้ E-Portfolio เป็นแหล่งรวบรวมเอกสาร หลักฐานที่สะท้อนสมรรถนะตาม PLOs สำหรับนักศึกษาเป็นรายบุคคล และใช้ E-Portfolio Assessment เป็นเครื่องมือหรือกลไกในการประเมินที่เน้นการประเมินตามสภาพจริง( Authentic Assessment)
นักศึกษาที่มีพัฒนาการล่าช้า หรือต่ำกว่าเกณฑ์ในแต่ละรอบการประเมิน ควรได้รับการดูแลช่วยเหลือ หรือนิเทศแนะนำ เป็นกรณีพิเศษ จนกว่าจะบรรลุตามเกณฑ์ขั้นต่ำ หรือ ปรากฏผลการประเมินตามรายการ PLOs ไม่ต่ำกว่าระดับปานกลางหรือพอใช้
Recent Posts
See AllFrom my experience of online Teaching for more than 4 years[During and after COVID periods in Thailand ], I found that the Completed...
In the AUN QA standards, questions about "what the customer is satisfied with" and "what the customer is unsatisfied with or dissatisfied...
Every faculty in any university should be concerned with the customers or stakeholders in the educational management process. We may...
Коментарі