Topic no.20: Learning via Programmed Instructional Module: การเรียนรู้ผ่านโมดูลสำเร็จรูป
- Suphak Pibool
- Mar 21
- 2 min read
Updated: Mar 22

The Concepts of the Programmed Instructional Module
Pre-programmed learning Modules are like these;
1) All Learners will learn from pre-designed lessons that present content, assignments, or testing of the lesson.
2) All learners must follow pre-programmed instructions and requirements equally. 3) The program may provide enrichment activities, such as periodic progress seminars or learning exchange activities, to help learners learn effectively and achieve the expected learning outcomes of the Module.
4) Academic advisors or homeroom teachers may provide general learning support or advice that should not conflict with the content of the pre-programmed lessons, as this could confuse learners. 5) Summative knowledge testing, grading, and graduation must be based on the pre-determined criteria for all cohorts.
การแนะนำผู้เรียนผ่านการเรียนแบบโมดูล:ทบทวนบทบาทครูประจำชั้นและบทบาทผู้เรียน
ในการเรียนระบบโมดูล เช่น กรณีของคุรุสภา ครูประจำชั้น(Homeroom Teacher) ต้องคอยดูแล กระตุ้นให้นักเรียนห้องประจำชั้น ทำการบ้านตามที่อาจารย์ประจำวิชามอบหมาย ครูประจำชั้นมีหน้าที่หลัก คือ กระตุ้น เสริมแรง และกำกับติดตามให้เขาส่งการบ้านทุกสัปดาห์ หรือเป็นระยะ ๆ ส่วนครูประจำวิชา(Subject Teachers)( โดยธรรมชาติ ในแต่ละชั้นเรียน นักเรียนเรียนหลายรายวิชา)เป็นผู้บรรยาย นำเสนอความรู้ในโมดูลหรือสอนเนื้อหาสาระ+มอบหมายงานให้ฝึกปฏิบัติเพื่อให้เข้าใจมโนทัศน์สำคัญๆ ในวิชานั้นๆ (ซึ่งหลายรายวิชาครูประจำชั้นก็ไม่ถนัด) + มอบแบบทดสอบเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักศึกษา พร้อมมอบเกณฑ์การประเมินชิ้นงาน เพื่อผู้เรียนสามารถประเมินตนเอง +มีของแถมคือฝากครูประจำชั้นช่วยประเมินเชิงยืนยันและเสริมความรู้บ้าง ในกรณีเช่นนี้ ผู้เรียนต้อง 1) ศึกษาโมดูล ตีความในงานที่มอบหมาย พร้อมจุดมุ่งหมายของชิ้นงาน 2) ทำชิ้นงานตามที่ได้รับมอบหมายจนแล้วเสร็จ 3) ประเมินผลงานตนเองหรือความเข้าใจของตนเอง พร้อมสะท้อนคิด[Self-Reflection] พิจารณาว่า ตนเองปฏิบัติได้บรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือตาม PLOs หรือไม่ อะไรที่ยังไม่เข้าใจที่ยังเป็นจุดอ่อนที่จะต้องปรับปรุง และ 4)ถามครูประจำชั้นผ่าน Chat หรือในวันสัมมนา ว่า “ข้าพเจ้าตีความเกี่ยวกับชิ้นงานแบบนี้ ตัดสินใจทำแบบนี้ รู้สึกว่ายังมีปัญหาตรงนี้ ต่อไปจะแก้จุดอ่อนแบบนี้ อาจารย์เห็นว่าผมไปถูกทางไหม เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของโมดูลไหม”…..ถ้าเขาเรียนแบบนี้ และฝึกตนเองแบบนี้ เขาจะบรรลุความสามารถหรือสมรรถนะในการคิดขั้นสูงอย่างแน่นอน คือ Applying > Evaluating > Creating
การนิเทศ แนะนำแบบให้นักศึกษาสะท้อนคิด
1. กรณี วิดีโอ คลิป สอนเป็นภาษาไทย นักศึกษาไม่เข้าใจ ตัวอย่างเช่น ....เรื่อง.....หน่วยงานผลิตโมดูลน่าจะต้องแก้ไขและจัดทำโปรแกรมเสริม หรือ เราอาจแก้ปัญหาพาะหน้าโดยให้นักศึกษาใช้วิธีการแปลภาษา พร้อมตีความตามบริบทของเนื้อหา พร้อม Chat พูดคุยกับครูประจำชั้น[ในฐานะที่ปรึกษาทางวิชาการด้วย]
2. กรณีเกิดปัญหา เช่น โรงเรียนปิดภาคเรียน ไม่มีนักเรียนในห้องเรียน จะผลิตคลิปวิดีโอ แสดงการสอนจริงได้อย่างไร [ ครูประจำชั้นควรถามผู้เรียนว่า “ท่านตีความเนื้อหาสาระที่ปรากฏในโมดูล หรืองานที่มอบหมายในโมดูลว่าอย่างไร จุดมุ่งหมายในการทำคลิปคืออะไร ต้องการให้ผู้เรียนสะท้อนทักษะอะไร ปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร แล้วในความคิดของท่าน ท่านคิดว่าแก้ปัญหานี้อย่างไร วิธีแก้ปัญหาของท่านจะยังคงทำให้จุดมุ่งหมายของการทำคลิปการสอนบรรลุผลสำเร็จตามที่โมดูลคาดหวังหรือไม่... เขาน่าจะ Evaluating and Creating ได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่รอคำตอบสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียว]
3. กรณีการพัฒนาการเรียนการสอนผ่านกระบวนการ PLC แล้วสอน 1 รอบโดยถ่ายทำคลิปการสอน(คลิป 1) เมื่อผ่านกระบวนการ PLC แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ได้รับการวิพากษ์และเสนอแนะจากทีม ในกรณีนี้น่าจะมีพัฒนาการในการสอนดีขึ้น กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนน่าจะดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสอนเนื้อหาหรือสอนเพื่อปลูกฝังคุณลักษณะ ในกรณีนี้คลิปวิดีโอ ประกอบการสอนรายการที่สอง(คลิป 2) น่าจะสะท้อนถึงวิธีการสอนที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสอนในเนื้อหาเดิม หรือเนื้อหาใหม่ ...(ครูประจำชั้นควรถามว่า..... ท่านตีความข้อเสนอแนะในโมดูลอย่างไร ถ้าโรงเรียนไม่ประสงค์ให้สอนเนื้อหาซ้ำเดิม ท่านจะทำอย่างไร คลิปวิดีโอ รายการแรกกับรายการหลัง จำเป็นต้องการสอนในเรื่องเดียวกันหรือไม่ ด้วยเหตุผลใด… ต้องฝึกให้นักศึกษาครู Self-Reflection , Critical Thinking , Evaluating สถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อม Creating คิดทางเลือกในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง เป็นทางเลือกที่เหมาะสมและเป็นไปได้... ถ้าเราฝึกเขาแบบนี้เรื่อย ๆ สุดท้าย เขาจะเป็นครูที่เก่ง ไม่ ใช่เรียนแค่บรรลุระดับความจำ และความเข้าใจ ต้องส่งเสริมให้เขาบรรลุในระดับ Applying > Evaluating > Creating… .ในที่สุดเขาจะทำข้อสอบที่วัดความสามารถในระดับการคิดขั้นสูงของคุรุสภาได้ ที่เป็นข้อสอบแบบสถานการณ์(Situation Test)ได้
4. กรณีที่นักศึกษาไม่เห็นด้วยกับเงื่อนไข ข้อตกลงไปเสียทุกเรื่อง และต่อรองเกือบทุกเรื่อง และไม่เห็นด้วยกับหลายๆ เรื่อง หลายๆเงื่อนไขเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามโมดูล ควรชี้แจงให้เข้าใจว่า จรรยาบรรณวิชาชีพที่เน้นการพัฒนาตน พัฒนางาน และพัฒนาวิชาชีพ.. โมดูลนี้ มุ่งให้ครูมีสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการพัฒนางานตามภารกิจของวิชาชีพครูของประเทศไทย โดยเฉพาะในเรื่องการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้(ที่เกือบทั้งหมดจะสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพครูในระดับสากล) เช่น การพัฒนาวิชาชีพ เราเน้นส่งเสริมให้ครูทำงานเป็นทีม ร่วมในกิจกรรม PLC ที่เป็นหลักปฏิบัติของวิชาชีพขั้นสูงทุกวิชาชีพ และสอดคล้องกับสังคมฐานความรู้และบริบทของยุคดิจิทัลในปัจจุบัน
Recent Posts
See AllIf I am the homeroom teacher for Class M.2/3, which has 9 subject teachers, the subject teachers are responsible for teaching and...
Perspectives on the characteristics of a good curriculum, especially a core curriculum for any community may be like this 1. Alignment...
Comments