Topic No. 26: Learning in Education or Social Sciences-การเรียนรู้ทางการศึกษาหรือทางสังคมศาสตร์
- Suphak Pibool
- Apr 2
- 2 min read

Learning in Education or Social Sciences
Education is one branch of the social sciences. Those who enter the teaching profession come from diverse backgrounds; some have a foundation in pure sciences, while others have a background in social sciences. Student-teachers may hold different perspectives. Some Student-teachers come from a science-based education and adhere to a rigid scientific mindset, where flexible thinking may differ from those with a social science background. The latter tend to believe in individual differences and view concepts and theories as just theories or research findings, not fixed laws or factual information. They believe that a teaching method that works in one context may not suit another; adaptation is necessary. They also recognize that educational knowledge or conclusions may not perfectly align when transitioning from one concept to another—such as from one module to another—but they are not contradictory and generally move in the same direction. If they can perceive or analyze things logically in this way, they will strive to identify common patterns or core knowledge in those subjects.
Each student-teacher undergoes different learning experiences: Structured Learning, Semi-structured Learning, or Free-structured Learning. If they have learned by memorizing patterns, steps, methods, and examples, then struggle when no example is provided, it may be because they have been heavily or consistently exposed to Structured Learning. In the structured Learning system, instructors design lessons emphasizing explanation, demonstration, and memorization of patterns and methods. Ultimately, learners develop abilities at the level of remembering or Understanding. It is much harder for them to reach applying, analyzing, evaluating, or creating. Student-teachers who focus on memorizing methods and examples may develop a Fixed Mindset, lacking flexibility and treating everything as rigid rules, much like knowledge in pure sciences.
Student-teachers who prefer or are accustomed to "memorizing patterns and methods" will demand concrete examples. If provided immediately, they simply replicate them without needing to adapt, analyze, evaluate, or think creatively. If such individuals become teachers, they will likely teach by dictating methods, steps, and sample patterns, which does little to foster Higher-Order Thinking Skills (HOTS) in students.
การเรียนรู้ทางการศึกษาหรือทางสังคมศาสตร์
การศึกษาเป็นแขนงหนึ่งของสังคมศาสตร์ ผู้เข้าสู่วิชาชีพครูมีทั้งที่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ หรือมีพื้นฐานทางสังคมศาสตร์ นักศึกษาครูแต่ละคนอาจมีมุมมองต่างกัน นักศึกษาครูบางคนก็เรียนมาทางวิทยาศาสตร์ เชื่อแบบวิทยาศาสตร์แบบแข็งขัน การคิดยืดหยุ่นอาจแตกต่างจากคนที่มีพื้นฐานทางสังคมศาสตร์ ที่มีความเชื่อในเรื่องมองความแตกต่างระหว่างบุคคล และเห็นว่า แนวคิด ทฤษฎีต่าง ๆ ก็เป็นแต่ทฤษฎีหรือผลการวิจัย ไม่ใช่กฎที่ตายตัว( not law หรือ Factual Information) รูปแบบการสอนที่ใช้ได้ผล ณ ที่หนึ่ง อาจไม่เหมาะกับอีกที่หนึ่ง จำเป็นต้องปรับประยุกต์ และเห็นว่าข้อความรู้หรือข้อสรุปทางการศึกษาจากแนวคิดหนึ่งไปสู่อีกแนวคิดหนึ่ง เช่น จากโมดูลหนึ่ง ไปยังโมดูลหนึ่ง อาจไม่ตรงกันแบบเป๊ะๆ แต่จะไม่ขัดแย้งกัน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ถ้าเขามองเห็นแบบนี้ หรือสามารถวิเคราะห์ในเชิงเหตุผลได้เช่นนี้ เขาจะพยายามวิเคราะห์ลักษณะร่วม หรือแก่นความรู้ในประเด็นนั้นๆ
คนเราแต่ละคนจะผ่านการเรียนแบบ Structured Learning, Semi-structure หรือ Free-structured Learning แตกต่างกัน ถ้าเราเรียนแบบจำรูปแบ จำขั้นตอน จำวิธีการ จำตัวอย่าง แล้วทำตามตัวอย่าง พอไม่มีตัวอย่างเราทำไม่เป็น อาจเป็นเพราะเราผ่านการเรียนแบบ Structured Learning มาค่อนข้างสูงหรือสม่ำเสมอ ซึ่งผู้เรียนที่ผ่านระบบ Structured Learning ที่ครูผู้สอนออกแบบการสอนและเน้นการบอก อธิบาย ให้ตัวอย่าง ให้จำรูปแบบ วิธีการ สุดท้ายผู้เรียนจะมีความสามารถในระดับการจำ Remembering หรืออาจถึงขั้น understanding เป็นการยากมากที่นักเรียนจะก้าวถึงขั้น Applying Analyzing Evaluating หรือ Creating ผู้เรียนที่เน้นการจำแบบ จำวิธีการ จำตัวอย่าง ในที่สุดอาจมี Fixed Mindset ไม่คิดแบบยืดหยุ่น จะจำทุกอย่างเป็นกฎที่ตายตัวเหมือนข้อความรู้ทางวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์
ผู้เรียนที่นิยมหรือคุ้นเคยกับการเรียนแบบ "จำรูปแบบ จำวิธีการ" กลุ่มนี้จะขอตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม ถ้าเราให้ทันที เขาก็จำจำรูปแบบ ทำตามแบบ ไม่ต้องคิดประยุกต์ คิดวิเคราะห์ ประเมิน หรือคิดสร้างสรรค์ ถ้าเขาไปเป็นครูแล้วสอนเด็กนักเรียน เขาก็จะเน้นการสอนแบบบอกวิธีการ บอกขั้นตอน บอกรูปแบบตัวอย่าง ไม่เกิดผลดีต่อการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสามารถในการคิดขั้นสูง(High Order Thinking)
Recent Posts
See AllIf I am the homeroom teacher for Class M.2/3, which has 9 subject teachers, the subject teachers are responsible for teaching and...
Perspectives on the characteristics of a good curriculum, especially a core curriculum for any community may be like this 1. Alignment...
------------ The main characteristics of Linear Programmed Instruction may be like this:- 1. Content Divided into Small Steps (Frames): ·...
Comments