เรื่องที่ 4: การมอบหมายให้นักศึกษาครู ทำหน้าที่ผู้ช่วยครูประจำสถานศึกษา ตั้งแต่เริ่มเรียนชั้นปีที่ 1
Updated: Jun 11
หากสถาบันให้ความสำคัญกับการมอบหมายให้นักศึกษาครู ทำหน้าที่ผู้ช่วยครูประจำสถานศึกษาในระดับก่อนปฐมวัย ปฐมวัย หรือการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยทางสถานศึกษามอบหมายให้มีครูในสถานศึกษาทำหน้าที่ครูพี่เลี้ยง ตั้งแต่เริ่มเรียนชั้นปีที่หนึ่ง (โดยอาจให้ทำหน้าที่ประจำในโรงเรียนที่อยู่ในรัศมีเดินทางสะดวกจากมหาวิทยาลัย หรือโรงเรียนเดิมที่นักศึกษาเคยเรียนระดับในระดับหนึ่งในโรงเรียนแห่งนั้น) การแต่งตั้งให้นักศึกษาประจำในโรงเรียน โดยอนุญาตให้ใช้กระบวนการทางไกลในการเรียนรู้และฝึกทักษะ(Tele- Learning) จะเกิดประโยชน์ ดังนี้
ทุกครั้งที่เรียนรายวิชาใด ๆ แล้วอาจารย์ผู้สอนมอบหมายให้ไปปฏิบัติในโรงเรียน นักเรียนจะสามารถเข้าไปปฏิบัติงานได้ทันที ภายใต้การนิเทศ ชี้แนะของครูพี่เลี้ยง
นักศึกษาจะคุ้นเคยกับระบบโรงเรียน เพราะเข้า-ออกๆ อย่างต่อเนื่อง ในชั้นของการฝึกสอนในสาขาวิชาเฉพาะ จะเป็นเรื่องง่าย และไม่ตื่นเต้นเหมือนครูใหม่
ครูพี่เลี้ยงจะเห็นจุดเด่น จุดอ่อนของนักศึกษา สามารถเสริมจุดเด่น หรือแก้จุดอ่อนได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลาที่ศึกษาในหลักสูตร
การเรียนวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพระหว่างเรียนทุกรหัสวิชา(Professional Practicum 1-3 ) นักศึกษาจะมีโอกาสเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง ไม่จำเป็นต้องออกไปประจำในสถานศึกษาแบบกำหนดช่วงเวลา ทั้งนี้หลักสูตรจะต้องกำหนดรายการปฏิบัติหรือรายการที่ต้องเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นลิสรายการที่ต้องเรียนรู้หรือฝึกหัดไว้ล่วงหน้า
ในกรณีที่นักศึกษามีความรับผิดชอบสูง และมีพัฒนาการอย่างชัดเจน จะเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับโปรแกรมวิชา หรือมหาวิทยาลัย ไปในตัว
อนึ่ง สาขาวิชาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ อาจมอบหมายให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 ในขณะที่ยังไม่ออกไปปฏิบัติการฝึกสอนในสาขาวิชาเฉพาะ ไปทำหน้าที่ผู้ช่วยสอนในรายวิชาต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย ก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในทางสร้างความเข้มแข็งด้านทักษะวิชาชีพครูแก่นักศึกษา อย่างต่อเนื่อง
เงื่อนไขสำคัญของกลยุทธ์นี้
กำหนดสิ่งที่นักศึกษาต่องเรียนรู้ อย่างเป็นรูปธรรม(List of issues that must be learned)
อนุญาตให้นักศึกษาเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ควบคู่กับออนไซต์ หรือยืดหยุ่นในเรื่องวัน-เวลา ที่ต้องเข้าไปเรียนรู้ในสถานศึกษา ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสั่งสมประสบการณ์(Accumulated of experiences) ดดยบันทึกผลการเรียนรู้และผลงานไว้ใน E-Portfolio อย่างต่อเนื่อง
อาจารย์ประจำหลักสูตร หรือสาขาวิชา มีการประสานงานและเตรียมความพร้อมด้านสถานศึกษาอย่างดีและอย่างต่อเนื่อง ถือสถานศึกษาเป็นสถาบันร่วมผลิตครู
Recent Posts
See AllFrom my experience of online Teaching for more than 4 years[During and after COVID periods in Thailand ], I found that the Completed...
In the AUN QA standards, questions about "what the customer is satisfied with" and "what the customer is unsatisfied with or dissatisfied...
Every faculty in any university should be concerned with the customers or stakeholders in the educational management process. We may...
Comments