top of page

เรื่องที่ 7 มาตรฐานการศึกษาชาติ กับ ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

Updated: Jun 14

ในการจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะมีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพหรือสมรรถนะผู้เรียน เช่น กรณีหลักสูตการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้ 1) มาตรฐานด้านความรู้ มีการกำหนดหลายพันรายการ เป็นการเขียนแบบอิงเนื้อหาสาระ 2) มาตรฐานทักษะ คือ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหา-เผชิญปัญหา ทักษะชีวิต ทักษะไอซีที และ 3) มาตรฐานคุณลักษะอันพึงประสงค์ คือ รักชาติฯ ซื่อสัตย์ มีวินัย ใผ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย และ มีจิตสาธารณะ โดยเราจะเห็นว่า สอดคล้องกับ TAXONOMY OF EDUCATION ของ Benjamin S. Bloom ที่จำแนกสมรรถนะของคนเป็น 3 ด้าน คือ Cognitive Domain, Affective Domain , and Psychomotor Domain


ในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ในปี 2552 ทบวงอุดมศึกษาในขณะนั้น ได้กำหนดมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา จำแนกเป็น 5 รายการ คือ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และ 5) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ


ต่อมาในปี 2561 คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้ กำหนดมาตรฐานคุณภาพคนไทย/คุณภาพหลักสูตรการศึกษาต่าง ๆ โดยกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง 3 รายการ คือ 1) Active Learner; ผู้เรียนที่ใฝ่รู้และรอบรู้ ทั้งความรู้พื้นฐานและศาสตร์สาขาใดสาขาหนึ่ง 2) Creator/Co-Creators; ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่งจะต้องมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในศตวรรษที่ 21 เช่น มีความสามารถด้านการสื่อสาร ทำงานเป็นทีม มีทักษะไอซีที ทักษะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และทักษะการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือนวัตกรรม ในศาสตร์ และ 3) Active Citizen; เป็นพลเมืองที่พึงประสงค์ มีคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองที่ดี เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม หรือเป็นสมาชิกที่ดีของวงวิชาชีพ



นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เพื่อให้การจัดการศึกษาแต่ละระดับเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทุกระดับก็ต้องให้ความสำคัญกับมาตรฐานการศึกษาชาติ ในส่วนการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา กมอ.ได้ประกาศมาตรฐานต่างๆ หลายรายการ เช่น มาตรฐานคุณวุฒิ มาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานตำแหน่งทางวิชาการ ฯลฯ โดยในส่วนของมาตรฐานคุณวุฒฒิ ได้กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง(Expected Learning Outcomes หรือ Program Learning Outcomes-PLOs) เป็น 4 ด้าน คือ Knowledge, Skills, Ethics, and Characteristic ซึ่งหากวิเคราะห์กับมาตรฐานการศึกษาชาติ ที่กำหนด 3 ด้าน คือ Active Learner; ผู้เรียนที่ใฝ่รู้และรอบรู้ ทั้งความรู้พื้นฐานและศาสตร์สาขาใดสาขาหนึ่ง 2) Creator/Co-Creators; ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่งจะต้องมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในศตวรรษที่ 21 เช่น มีความสามารถด้านการสื่อสาร ทำงานเป็นทีม มีทักษะไอซีที ทักษะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และทักษะการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือนวัตกรรม ในศาสตร์ และ 3) Active Citizen; เป็นพลเมืองที่พึงประสงค์ มีคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองที่ดี เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม หรือเป็นสมาชิกที่ดีของวงวิชาชีพ ในกรณีนี้ จะเห็นความสอดคล้อง ดังนี้


 1)  Active Learner; It may be equivalent to the dimension of Knowledge and have a habit of learning.

    2)  Innovation Creator/Co-Creator; it should be the 21st Century competency that may be composed of skills in the Skill dimension.

    3) Active Citizens; may be composed of ethics and Characteristics dimensions that determined by HEC

Recent Posts

See All

เรื่องที่ 11: From the PLOs to CLOs

ในการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด Outcome Based Education ทุกหลักสูตรหรือทุกโปรแกรมวิชาจะต้องกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังให้เป็นรูปธร...

เรื่องที่ 10: Professional Practicum ประกาศคุรุสภา 2567 ต้องฝึกทุกปี หรือยกเว้นได้บางปี

ตามประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญา ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ได้กำหนดเงื่อนไขการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่สำคัญ ๆ สำหรับนักศึกษาครู...

เรื่องที่ 9 ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง ตามมาตรฐานอุดมศึกษา 2552 มาตรฐานการศึกษาชาติ 2561 และมาตรฐานคุณวุฒิ อุดมศึกษา 2565

ด้วยระยะเวลาที่เปลี่ยนไป ในแต่ละช่วงจะมีการกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิ หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรระดับอุดมศึกษา เช่น...

Comentarios


bottom of page