top of page
Writer's pictureSuphak Pibool(Y)

เรื่องที่ 4: การมอบหมายให้นักศึกษาครู ทำหน้าที่ผู้ช่วยครูประจำสถานศึกษา ตั้งแต่เริ่มเรียนชั้นปีที่ 1

Updated: Jun 11, 2024

หากสถาบันให้ความสำคัญกับการมอบหมายให้นักศึกษาครู ทำหน้าที่ผู้ช่วยครูประจำสถานศึกษาในระดับก่อนปฐมวัย ปฐมวัย หรือการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยทางสถานศึกษามอบหมายให้มีครูในสถานศึกษาทำหน้าที่ครูพี่เลี้ยง ตั้งแต่เริ่มเรียนชั้นปีที่หนึ่ง (โดยอาจให้ทำหน้าที่ประจำในโรงเรียนที่อยู่ในรัศมีเดินทางสะดวกจากมหาวิทยาลัย หรือโรงเรียนเดิมที่นักศึกษาเคยเรียนระดับในระดับหนึ่งในโรงเรียนแห่งนั้น) การแต่งตั้งให้นักศึกษาประจำในโรงเรียน โดยอนุญาตให้ใช้กระบวนการทางไกลในการเรียนรู้และฝึกทักษะ(Tele- Learning) จะเกิดประโยชน์ ดังนี้

  1. ทุกครั้งที่เรียนรายวิชาใด ๆ แล้วอาจารย์ผู้สอนมอบหมายให้ไปปฏิบัติในโรงเรียน นักเรียนจะสามารถเข้าไปปฏิบัติงานได้ทันที ภายใต้การนิเทศ ชี้แนะของครูพี่เลี้ยง

  2. นักศึกษาจะคุ้นเคยกับระบบโรงเรียน เพราะเข้า-ออกๆ อย่างต่อเนื่อง ในชั้นของการฝึกสอนในสาขาวิชาเฉพาะ จะเป็นเรื่องง่าย และไม่ตื่นเต้นเหมือนครูใหม่

  3. ครูพี่เลี้ยงจะเห็นจุดเด่น จุดอ่อนของนักศึกษา สามารถเสริมจุดเด่น หรือแก้จุดอ่อนได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลาที่ศึกษาในหลักสูตร

  4. การเรียนวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพระหว่างเรียนทุกรหัสวิชา(Professional Practicum 1-3 ) นักศึกษาจะมีโอกาสเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง ไม่จำเป็นต้องออกไปประจำในสถานศึกษาแบบกำหนดช่วงเวลา ทั้งนี้หลักสูตรจะต้องกำหนดรายการปฏิบัติหรือรายการที่ต้องเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นลิสรายการที่ต้องเรียนรู้หรือฝึกหัดไว้ล่วงหน้า

  5. ในกรณีที่นักศึกษามีความรับผิดชอบสูง และมีพัฒนาการอย่างชัดเจน จะเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับโปรแกรมวิชา หรือมหาวิทยาลัย ไปในตัว


อนึ่ง สาขาวิชาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ อาจมอบหมายให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 ในขณะที่ยังไม่ออกไปปฏิบัติการฝึกสอนในสาขาวิชาเฉพาะ ไปทำหน้าที่ผู้ช่วยสอนในรายวิชาต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย ก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในทางสร้างความเข้มแข็งด้านทักษะวิชาชีพครูแก่นักศึกษา อย่างต่อเนื่อง


เงื่อนไขสำคัญของกลยุทธ์นี้

  1. กำหนดสิ่งที่นักศึกษาต่องเรียนรู้ อย่างเป็นรูปธรรม(List of issues that must be learned)

  2. อนุญาตให้นักศึกษาเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ควบคู่กับออนไซต์ หรือยืดหยุ่นในเรื่องวัน-เวลา ที่ต้องเข้าไปเรียนรู้ในสถานศึกษา ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสั่งสมประสบการณ์(Accumulated of experiences) ดดยบันทึกผลการเรียนรู้และผลงานไว้ใน E-Portfolio อย่างต่อเนื่อง

  3. อาจารย์ประจำหลักสูตร หรือสาขาวิชา มีการประสานงานและเตรียมความพร้อมด้านสถานศึกษาอย่างดีและอย่างต่อเนื่อง ถือสถานศึกษาเป็นสถาบันร่วมผลิตครู

0 views0 comments

Recent Posts

See All

เรื่องที่ 11: From the PLOs to CLOs

ในการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด Outcome Based Education ทุกหลักสูตรหรือทุกโปรแกรมวิชาจะต้องกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังให้เป็นรูปธร...

เรื่องที่ 10: Professional Practicum ประกาศคุรุสภา 2567 ต้องฝึกทุกปี หรือยกเว้นได้บางปี

ตามประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญา ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ได้กำหนดเงื่อนไขการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่สำคัญ ๆ สำหรับนักศึกษาครู...

เรื่องที่ 9 ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง ตามมาตรฐานอุดมศึกษา 2552 มาตรฐานการศึกษาชาติ 2561 และมาตรฐานคุณวุฒิ อุดมศึกษา 2565

ด้วยระยะเวลาที่เปลี่ยนไป ในแต่ละช่วงจะมีการกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิ หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรระดับอุดมศึกษา เช่น...

Comments


bottom of page