ด้วยระยะเวลาที่เปลี่ยนไป ในแต่ละช่วงจะมีการกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิ หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรระดับอุดมศึกษา เช่น ตามมาตรฐานอุดมศึกษา 2552 ได้กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง ทั่วไป 5 ประการ คือ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ด้านปฏิบสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การทำงานเป็นทีมและความรับผิดชอบ และ 5) ทักษะการสื่อสาร ทักษะเชิงตัวเลข และทักษะไอซีที และถ้าเป็นโปรแกรมทางการศึกษา ก็อาจกำหนด 6) ทักษะการจัดการเรียนรู้และบริหารจัดการชั้นเรียน เป็นต้น
ต่อมาในปี 2561 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้ประกาศมาตรฐานคุณภาพเด็กไทยและคนไทย 3 ประการ คือ 1) Active Learner 2) Creator/Co-Creators และ 3) Active Citizen หลักสูตรใดๆ ที่เกิดในช่วงเวลานี้ ก็อาจกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังเป็น 3 ด้าน หรือบางครั้งก็วิเคราะห์ และกำหนดแบบบูรณาการรวม มาตรฐานของปี 2552 ผนวกกับ 2561 แล้วกำหนดเป็นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง ก่อนที่จะจัดทำ Curriculum Mapping เพื่อชี้ให้เห็นว่าโครงสร้างรายวิชา ตอบสนองครบถ้วนทุกรายการมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ ตามที่หลักสูตรกำหนด
ในปี 2565 กมอ. ได้กำหนดมาตรฐานหลักสูตร ให้แต่ละหลักสูตร กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ให้ครอบคลุม 4 ด้าน คือ 1) ด้านความรู้(Knowledge) 2) ด้านทักษะ(Skills) 3) ด้านจริยธรรม(Ethics) และ 4) ด้านลักษณะบุคคล(Characteristics) ซึ่งโดยสภาพข้อเท็จจริงแล้ว 3 กับ 4 รวมกัน ก็คือ สมาชิกที่ดีของวงวิชาชีพและสังคม(หรือผลเมืองที่พึงประสงค์นั่นเอง)
ในที่นี้ ผมได้พยายามชี้ให้เห็นเชิงเปรียบเทียบเพื่อการอธิบายผลลักพธ์การเรียนรู้ ในหลักสูตรเก่า กับหลักสูตรใหม่เพื่อให้เห็นเชื่อมโยงความคิด ดังเอกสารที่แนบ
コメント